วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

ภาพความน่ารักของกระต่าย

                     

                   มีความแอ๊บแบ๊ว  น่ารัก

































ชอบวิ่งเล่นที่กว้างๆ











ชอบนอนกลางวัน































รักสะอาด











กิน กิน กิน









                                             

                                                    ชอบกัดๆ แทะๆ ต้องระวังนะคะ













สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำกับกระต่าย

สิ่งที่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย


                1.ดูแลและสังเกตเป็นประจำ ถ้าเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์ 


                2.ให้สัมผัสอย่างเบามือ 


                3.ทำความความสะอาดบริเวณกรงอย่างสม่ำเสมอ 
 

                4.ควรให้อาหารที่เหมาะสม 


                5.ควรให้ถ่ายพยาธิหรือตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1ครั้ง 



สิ่งที่ไม่ควรทำในการเลี้ยงกระต่าย


                 1.อย่าหิ้วหูกระต่ายเด็ดขาด 


                2.อย่าให้อาหารประเภทขนมที่เป็นแป้ง คาร์โบไฮเดรต เพราะจะเกิดผลเสียกับเขา 


              3.อย่าเลี้ยงกระต่ายเป็นแฟชั่น ให้เลี้ยงเพราะว่าอยากจะเลี้ยง 


              4.อย่าอาบน้ำให้กระต่ายบ่อยเกินไป ประมาณ 3-4 เดือน/ครั้งก็พอ


              5.หากที่บ้านมีแมว ไม่ควรเอาห้องน้ำแมวที่มีสารดับกลิ่นมาใช้กับกระต่าย ควรใช้ขี้เลื่อยหรือหนังสือพิมพ์แทน
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

โรคที่ต้องระวัง



           1. โรคฝี

           โรคฝีเกิดจากภาวการณ์ติดเชื้อใต้ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา เมื่อใช้มือลูบตามลำตัวจะพบเป็นก้อนแข็ง การรักษาต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาดแล้วทาด้วยทิงเจอร์และไอโอดีน




           2. ฮีทสโตรก

            กระต่ายจะไวต่อโรคฮีทสโตรกมาก เนื่องจากกระต่ายระบายความร้อนออกจากร่างกายผ่านหูเพียงทางเดียว เมื่อเกิดภาวะฮีทสโตรกกระต่ายจะหายใจหนัก อ่อนเพลีย อยู่นิ่งกับที่ อุณหภูมิร่างกายสูง หากเป็นเช่นนี้ให้นำกระต่ายออกจากกรงและนำไปไว้ในที่เย็นหรือจุ่มลำตัวลงน้ำเย็น




             3. เห็บหมัด

              เช่นเดียวกับสุนัขและแมว ลำตัวของกระต่ายที่มีขนปกคลุมมักจะมีเห็บหมัดและแมลงตัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ ผิวหนังจะแห้ง เป็นรังแค เกาตามตัว และสั่นศีรษะ การรักษาควรพาไปหาหมอเพื่อจำกัดและรับยารักษา




          4. โรคจากแบคทีเรียพาสทูเรลลา

            พาสทูเรลลาเป็นแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายกระต่ายแต่จะไม่แสดงอาการเด่นชัด สามารถติดต่อไปยังกระต่ายตัวอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเป็นโรคจะมีน้ำมูก ตาแฉะ หายใจลำบาก ผิวหนังบวม ซึมเศร้า 5. ฉี่เป็นเลือด อาการฉี่เป็นเลือดในกระต่ายส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเม็ดสีที่เรียกว่าพอร์ไฟริน (Porphyrin) อาการนี้ไม่เป็นอันตรายใด ๆ และจะหายไปเองภายใน 2 วัน สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

นิสัยของกระต่าย

    กระต่ายมีนิสัย
 

         1.  การกินมูลตัวเอง (Coprophagy) กระต่ายจะมีการถ่ายมูลพวงองุ่นที่อ่อนนุ่มในยามเช้าตรู่ แล้วกินกลับเข้าไปใหม่เพื่อปรับลำไส้ให้เป็นปกติ โดยในมูลพวงองุ่นก็จะมีทั้งวิตามินบี โปรตีน และแบคทีเรียที่ดี เมื่อกระต่ายกินมูลกลับเข้าไปก็จะได้รับสารอาหารและแบคทีเรียที่ดีกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง 










         2.  การกัดแทะสิ่งของ กระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะและจะแทะเพื่อลับฟัน ไม่ให้ฟันงอกยาวจนเกินไป เพราะหากฟันยาวอาจจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้อีกมากมาย ฉะนั้นผู้เลี้ยงจึงควรหากิ่งไม้ ท่อนไม้แห้งเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือไม้แทะแบบสำเร็จรูปทิ้งไว้ให้แทะเล่น แต่ก็ต้องดูว่าไม้นั้น ๆ ต้องไม่เป็นอันตรายต่อกระต่ายด้วย






         3.  การนอน ที่จริงแล้วกระต่ายเป็นสัตว์หากินกลางคืน จะตื่นตอนกลางคืนเพื่อหากินและจะหลับในเวลากลางวัน กระต่ายบางตัวจะนั่งนิ่ง ๆ สักพักโดยไม่หลับตาและนั่นคือการนอนของพวกมัน เพราะกระต่ายมีสัญชาตญาณในการระวังตัวสูง มักตกอยู่ในสถานะผู้ถูกล่าเสมอ จึงระวังตัวตลอดเวลา 







           4.  การเคาะเท้า กระต่ายอาจจะเคาะหรือกระโดดขึ้น-ลงให้เกิดเสียง เพื่อเป็นการเตือนภัย พวกมันจะเคาะเท้าเมื่อเกิดภาวะเครียดและตื่นกลัว เช่น มีสัตว์อื่นเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่หรือไม่คุ้นเคยเวลามีคนจะเข้าไปอุ้ม






            5.  ความก้าวร้าว อาการก้าวร้าวอาจเกิดจากการตามใจจนติดเป็นนิสัย การถูกรังแก หรือความต้องการเป็นเจ้าของอาณาเขต จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนิสัยของกระต่าย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการตามใจและการถูกรังแกจนฝังใจมากกว่า ซึ่งจะแสดงออกโดยการกัดเวลายื่นมือเข้าไปหรือกัดเวลาได้ของไม่ถูกใจ




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

พื้นที่สำหรับเลี้ยงกระต่าย




- เลี้ยงในบ้าน

          ถ้าจะเลี้ยงกระต่ายในบ้าน กรงต้องใหญ่กว่าขนาดตัวของกระต่ายอย่างน้อย 4 เท่า ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ยิ่งดี ส่วนพื้นของกรงควรเป็นพื้นไม้เรียบ แบบลวดตาข่ายอาจจะทำให้เท้ากระต่ายมีบาดแผลได้ ห้ามใช้ตู้กระจกเด็ดขาด เพราะมีอากาศไม่เพียงพอ และอย่าลืมวางกระบะถ่ายไว้มุมกรงด้วย





- เลี้ยงนอกบ้าน

          กระท่อมหรือกรงสำหรับการเลี้ยงกระต่ายนอกบ้านต้องกันแดดกันฝนได้ ควรสูงอย่างน้อย 1 ฟุตและมีขนาด 30x36x20 นิ้วเป็นอย่างต่ำ ยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไรยิ่งดี เพราะจะได้มีพื้นที่วิ่งเล่นมากขึ้นและไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด หลังคาควรจะเป็นแบบเปิดปิดได้ พื้นควรเป็นพื้นไม้มีฟางหรือหญ้าแห้งรองไว้สำหรับนอนด้วย



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

การจับหรืออุ้มกระต่าย

การจับกระต่ายที่ถูกต้อง

            ความเข้าใจผิดที่คนจะจับกระต่ายโดยการหิ้วหู ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหู เพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บและอาจเป็นสาเหตุทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้


            - ลูกกระต่าย : ใช้มือที่ถนัดจับหนังบริเวณสะโพกให้มั่นคงแล้วยกขึ้นตรง ๆ



            - กระต่ายขนาดกลาง : ใช้มือขวาหรือมือที่ถนัดจับหนังเหนือไหล่ให้มั่นคง อาจรวบหูมาด้วยก็ได้ มือซ้ายรองใต้ก้น ให้ด้านหน้าของกระต่ายหันออกนอกตัวผู้จับ



             - กระต่ายใหญ่ : ใช้มือขวาจับเหมือนการจับกระต่ายขนาดกลาง แล้วยกอ้อมขึ้นมาทางซ้ายมือ ใช้แขนซ้ายหนีบให้แนบชิดลำตัว โดยใช้มือซ้ายช่วยประคองก้น ให้หน้ากระต่ายหันไปทางหลังของผู้จับ และขากระต่ายชี้ออกนอกตัวผู้จับ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

อาหารสำหรับกระต่าย

อาหารการกิน

       ส่วนใหญ่แล้วคนจะเข้าใจว่ากระต่ายจะกินผลไม้ เช่น แครอท ผักบุ้ง ไม่ใช่ว่าจะกินผลไม้ได้เลย แต่อาหารที่เหมาะสำหรับกระต่ายจริงๆแล้วก็คือ หญ้าแห้ง  80  เปอร์เซ็นต์ และอาหารเม็ด 20 เปอร์เซ็นต์ กระต่ายต้องการไฟเบอร์สูงควรเลือกอาหารที่มีไฟเบอร์ให้กระต่ายเพียงพอ  กระต่ายไม่ต้องการโปรตีนมาก หญ้าที่เหมาะสำหรับกระต่าย


 หญ้าขน
 
   หญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดีซึ่งช่วยให้กระต่ายมีระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่เลี้ยงควรมีหญ้าสดและสะอาดไว้ในกรงตลอดเวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายควรทำความสะอาดก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อย 30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่ดูไม่สะอาดก้ควรที่จะเลี่ยง







หญ้าแพงโกล่า

     เป็นหญ้าที่มีไฟเบอร์สูงมาก ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายของกระต่ายดีมาก ป้องกันโรคก้อนขนและช่วยลับฟันกระต่าย เหมาะนำมาผสมกับหญ้าชนิดอื่น ๆ ให้กระต่ายเลือกกิน ในท้องตลาดปัจจุบันมีขายเป็นก้อนลูกบอลให้กระต่ายเหวี่ยงเล่นคะ กินไป เล่นไป








หญ้าทิโมที

        เป็นหญ้าที่มีกากใยเยอะเพื่อช่วยในการขับถ่ายมาก ทำให้ระบบในการย่อยอาหารทำงานได้สมบูรณ์มากขึ้น จึงเป็นหญ้าที่เหมาะสำหรับกระต่ายที่โตเต็มวัย หรือกระต่ายที่มีอายุ เนื่องจากมีกากใยเยอะโปรตีนน้อย ทำให้กระต่ายไม่อ้วนจนเกินไป








หญ้าอัลฟาฟ่า

         เป็นพืชตระกูลถั่วมีสารอาหารจำพวกโปรตีน แคลเซียมสูง เหมาะสำหรับกระต่ายในช่วงอายุต่ำกว่า 6 เดือน ที่ต้องการโปรตีนในปริมาณมาก เพื่อช่วยสร้างโครงสร้างของร่างกายให้สมบูรณ์และแข็งแรง ทั้งยังเหมาะสำหรับกระต่ายตัวเมียที่อยู่ในช่วงให้นมลูกเช่นกัน หญ้าชนิดนี้ควรหลีกเลี่ยงให้กับกระต่ายที่อายุเกิน 6 เดือน เพราะมีความต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน แคลเซียมน้อยลง หากได้รับมากเกินไปจะทำให่ไตทำงานหนัก หญ้าชนิดนี้มีกลิ่นหอมที่แรงมากทำให้กระต่ายอยากอาหาร สามารถให้กระต่ายที่ป่วยที่ไม่อยากอาหารกินได้



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.